Loading...

นักวิชาการโภชนาการ ม.สงขลานครินทร์ แนะผู้ป่วยภาวะ Long COVID เน้นกินอาหารจากแหล่งโปรตีน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหาร Junk Food

ภาวะ Long COVID เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกายหลังติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงและมีโอกาสเกิดขึ้นนานกว่า 12 สัปดาห์ โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์พบว่าส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะ Long COVID ได้รับผลกระทบระยะยาวกับระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบทางด้านจิตใจ ระบบประสาท ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการ ดูแลรักษาร่างกายและเสริมภูมิคุ้มกันด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง คุณปรางทิพย์ เกื้อเส้ง นักวิชาการโภชนาการ งานโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า อาการจากภาวะ Long [ … ]

กรมอนามัย แนะ 4 ประเภทอาหาร ทางเลือกช่วยเลิกบุหรี่สำเร็จ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะ 4 ประเภทอาหาร เพื่อเป็นทางเลือกช่วยเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ พร้อมชี้อาหารบางชนิดกระตุ้นความอยากบุหรี่ ควรเลี่ยง นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคถุงลมโป่งพอง และเป็นสาเหตุสําคัญของโรคมะเร็งปอด ผู้ที่อยากเลิกบุหรี่ จึงต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจใช้การบำบัดทางการแพทย์ร่วมกับการเลือกกินอาหารที่มีส่วนช่วยให้การเลิกบุหรี่ประสบความสำเร็จได้ มี 4 ประเภท ดังนี้ 1) ผักและผลไม้  อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชดเชยปริมาณวิตามินซีที่สูญเสียไปในช่วงเวลาที่สูบบุหรี่ และช่วยฟื้นฟูระบบอวัยวะภายในให้กลับมาแข็งแรง โดยเฉพาะมะนาว [ … ]

วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ‘พืชกัญชา’ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 มีผลบังคับใช้ ‘พืชกัญชา’ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด . ผลทางกฎหมายจากการที่พืชกัญชาไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ดังนี้ . 1. ผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี หรือจำเลยที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลในความผิดเกี่ยวกับพืชกัญชาดังกล่าวพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด 2. สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 วงเล็บ 5 [ … ]

ม.อ. เชิญชวนป้องกันตนเองจากโรคฝีดาษลิง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ งานปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์  เชิญชวนทุกท่านป้องตนเองจากโรคฝีดาษลิง     โดยปฎิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และแจ้งเตือนประชาชน ให้เฝ้าระวังป้องกันโรคฝีดาษลิง  (Monkeypox) ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้ พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก มักเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ สำหรับการป้องกัน ควบคุมโรค เริ่มต้นด้วยการป้องกันตนเอง ดังนี้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ     21 [ … ]

ม.สงขลานครินทร์ ร่วมจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อผลิตบุคลากรด้าน AI

ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีความสำคัญและจำเป็นในการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลอย่างมากและทั่วโลกได้นำปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างแพร่หลายทำให้เกิดการแข่งขันทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความพร้อมทางด้านนักวิจัย คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีงานวิจัยที่ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์และเผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการเทคโนโลยี พร้อมด้วยเครือมือ อุปกรณ์และห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อมรองรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก จึงทำให้มหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่งได้ร่วมลงนามความร่วมมือในจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เพื่อร่วมกันจัดการศึกษาพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย หลักสูตร A.I. Sandbox อีกทั้งมีการแบ่งปันทรัพยากรและเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเครือข่ายปัญญาประดิษฐ์ ตอบโจทย์และสอดคล้องต่อการขาดแคลนของตลาดแรงงาน นอกจากนี้ ม.สงขลานครินทร์ได้วางแผนการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต เพิ่มความยืดหยุ่นและลดระยะเวลาการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาพร้อมปฏิบัติงาน ผ่านภารกิจที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำหนดการผลิตกำลังคนด้าน [ … ]

ม.อ. ร่วมกับ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทำหมันควบคุมประชากรลิง ในเขตพื้นที่วิทยาเขตหาดใหญ่

ผศ. ดร.วศิน สุวรรณรัตน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตหาดใหญ่ นำทีมกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมกับ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าทำการทำหมันลิง ในเขตที่พักหมู่บ้านเก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยมีสัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ จากจังหวัดสงขลา และจังหวัดกระบี่ จำนวน 30 คน ดำเนินการระหว่างวันที่ 24 -29 พฤษภาคม 2565 เพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ในการควบคุมประชากรลิงที่ปริมาณเพิ่มมากขึ้น ในเขตที่พักอาศัย [ … ]

นักวิจัย ม.อ. ผลิตไซรัป ไซเดอร์ ซอเบท์ ไวน์ ไวน์ไร้แอลกอฮอล์ จากน้ำมะม่วงเบาแช่อิ่มเปลี่ยนของเหลือเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์

มะม่วงเบาแช่อิ่มสงขลาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปมะม่วงเบาที่รสชาติอร่อย เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว กระบวนการผลิตมะม่วงเบาแช่อิ่มเหลือน้ำมะม่วงเบาแช่อิ่มที่ยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่และเหลือทิ้งจนอาจกลายเป็นมลภาวะ ผศ.ดร.ปุณณาณี สัมผวะผล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร ม.อ.ได้นำโจทย์นี้เข้าสู่กระบวนการวิจัยหาทางเพิ่มมูลค่าจนได้เป็นไซรัป ไซเดอร์ ซอเบท์(ไอศกรีมไม่ใส่นม) ไวน์ และไวน์ไร้แอลกอฮอล์ในที่สุด . งานวิจัยเพิ่มมูลค่าน้ำมะม่วงเบาแช่อิ่มเกิดจากความร่วมมือระหว่าง ม.สงขลานครินทร์ สำนักงานประสานงานวิทยาศาสตร์ภาคใต้และหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม อ.ปุณณาณี เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมผู้ประกอบการมะม่วงเบาแช่อิ่มใช้น้ำแช่อิ่มซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้งแล้วเททิ้ง แต่คณะวิจัยได้พัฒนาน้ำมะม่วงเบาแช่อิ่มเป็นน้ำมะม่วงเบาแช่อิ่มพร้อมดื่ม โดยใช้กระบวนการเจือจางให้ความหวานพอดี เนื่องจากน้ำแช่อิ่มมะม่วงเบามีรสหวานจัด แต่การทำเจือจางไม่ทำให้กลิ่นรสมะม่วงเบาหายไปแต่อย่างใด หรืออาจทำกระบวนการคาร์บอเนตหรือการอัดแก๊สจะได้รสเปรี้ยวหวาน ซ่า สดชื่น ผลิตภัณฑ์ที่สองคือไซรัปมะม่วงเบา คือการนำน้ำมะม่วงเบาผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้น ระดับความหวาน 50 บริกซ์ [ … ]

สงขลายังไม่เจอปะการังฟอกขาว ศูนย์วิจัยฯ เฝ้าติดตามสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด

ปะการัง เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในพวกชีเลนเทอราดา (Coelenterata) กลุ่มเดียวกับดอกไม้ทะเล และ แมงกะพรุน ต่างกันที่ปะการังจะสร้างหินปูนเป็นฐานแข็งแรง มีลักษณะเด่น คือ มีโพรงในลำตัว และมีเนื้อเยื้อ 2 ชั้น ในตัวปะการัง มีสาหร่ายเซลล์เดียวเรียกว่า ซูแซนเธอลี่ (Zooxanthellae) จำนวนมาก อาศัยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหาร และสร้างสีสันให้แก่ปะการัง คุณ ราตรี สุขสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างกล่าวว่า สาเหตุการเกิดปะการังฟอกขาว มาจาก อุณหภูมิอากาศและน้ำทะเลสูงกว่า 32 [ … ]

ม.อ. ขับเคลื่อนท้องถิ่นสู่องค์กร 4.0 ด้วยเทคโนโลยีแพลตฟอร์มดิจิทัล

ม.อ. ติดอาวุธทางปัญญา เดินหน้าพัฒนากำลังคนทุกสาขาอาชีพ มุ่งสร้างสรรค์ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาด ผ่าน “โครงการ พันธกิจ ม.อ. ยกระดับการใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มดิจิทัลสู่ธุรกิจ 4.0” เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องสันติภาพ ชั้น 7 โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ผศ. ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิด “โครงการพันธกิจ [ … ]

สิทธิบัตรทอง แจกผ้าอ้อมผู้ใหญ่

ที่ประชุมบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบ บรรจุ “ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับการขับถ่าย” ให้เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) สำหรับคนไทยทุกคน โดยมีผลตั้งแต่ 2 พ.ค. 2565 เป็นต้นไป . ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผนรองซับการขับถ่าย เป็นการดำเนินการเพื่อดูแลผู้ที่อยู่ในภาวะติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มที่มีปัญหาการกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ และมีค่าคะแนนระดับความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ตามดัชนี ADL ระหว่าง 0-6 หรือตามแผนดูแลรายบุคคล [ … ]