Loading...
Uncategorized

นักวิชาการโภชนาการ ม.สงขลานครินทร์ แนะผู้ป่วยภาวะ Long COVID เน้นกินอาหารจากแหล่งโปรตีน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหาร Junk Food

ภาวะ Long COVID เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกายหลังติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงและมีโอกาสเกิดขึ้นนานกว่า 12 สัปดาห์ โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์พบว่าส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะ Long COVID ได้รับผลกระทบระยะยาวกับระบบทางเดินหายใจ ผลกระทบทางด้านจิตใจ ระบบประสาท ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการ ดูแลรักษาร่างกายและเสริมภูมิคุ้มกันด้วยอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

คุณปรางทิพย์ เกื้อเส้ง นักวิชาการโภชนาการ งานโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า อาการจากภาวะ Long COVID มีอาการค่อนข้างหลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบเหนื่อยหรือว่าไอเรื้อรัง รองลงมามีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางจิตใจ เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า บางรายมีอาการเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ มึนศีรษะ มีอาการหลงลืมในช่วงแรกที่หายจากโควิด หรือมีผลกระทบต่อระบบผิวหนัง เช่น ผมร่วงหรือผื่นแพ้ รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามข้อ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า 2 สัปดาห์ ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟื้นฟูอาการหลังจากหายจากโควิดแล้วค่อนข้างนานกว่าคนที่เป็นโควิดทั่วๆ ไป

ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็น COVID-19 เป็นอย่างไร ?

• ระบบทางเดินหายใจ (44.38%) หอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง

• ระบบทางจิตใจ (32.1%) นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า

• ระบบประสาท (27.33%) ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หลงลืม

• ระบบทั่วไป (23.41%) อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ

• ระบบหัวใจและหลอดเลือด (22.86%) เจ็บหน้าอก ใจสั่น

• ระบบผิวหนัง (22.8%) ผมร่วง ผื่นแพ้

โดยหลักทางโภชนาการพบว่าผู้ที่มีภาวะ Long COVID สามารถเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพและเสริมภูมิคุมกันได้ ดังนี้

  • รับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งโปรตีนมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฮอร์โมน เอนไซม์ต่างๆ (โดยปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับเท่ากับ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) แหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูงคุณภาพ ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น แห้ง ถั่วดำถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น
  • รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เนื่องจากผู้ที่มีภาวะ Long COVID บางรายมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องระบบทางเดินอาหาร มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารป้องกันอาการท้องอืด แนะนำให้เลือกทานอาหารที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ เน้นวิธีการปรุงอาหารด้วยการอบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้มากยิ่งขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามิน แร่ธาตุ และจุลินทรีย์ เนื่องจากเมื่อร่างกายติดเชื้อโควิด-19 จะมีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระที่มากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายเกิดความเสียหาย ซึ่งวิตามินแร่ธาตุจะไปช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ กลับมาทำงานได้ตามปกติ
    • วิตามินซี พบมากในผักและผลไม้สดทุกชนิด เช่น คะน้า มะเขือเทศ ผักโขม ดอกกะหล่ำ ใบเหลียง ส้ม มะละกอสุก ฝรั่ง มะนาว เป็นต้น
    • วิตามินเอ พบมากในเครื่องในสัตว์ ไข่แดง ผักใบสีเขียว ผักและผลไม้สีเหลืองและสีส้ม เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอสุก มะเขือเทศ
    • วิตามินดี พบมากในปลานิล ปลาทับทิม ไข่แดง ตับ เห็ดหอมแห้ง นอกจากนี้ร่างกายสามารถรับวิตามินดีได้จากแสงแดด ในช่วงเวลา 8.00 – 10.00 น. และ 16.00 น. เป็นต้นไป
    • วิตามินอี พบได้ในพวกน้ำมัน น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน พวกถั่วเปลือกแข็งเช่น ถั่วลิสง อัลมอลด์ รวมถึงพวกผักแล้วก็ผลไม้บางชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มะละกอสุก กล้วย
    • แร่ธาตุสังกะสี พบได้ในพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลเปลือกแข็ง เช่น หอย ปู กุ้ง หอยนางรม รวมถึงพวกของธัญพืช
    • โพรไบโอติกส์ (Probiotics) พบมากในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว (สูตรที่มีน้ำตาลน้อย) และควรรับประทานร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักสด ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย เพื่อเป็นแหล่งอาหารำาหรับจุลินทรีย์สุขภาพ
    • ดื่มน้าเปล่าสะอาดให้เพียงพอ วันประมาณละ 2 ลิตร

“ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภท Junk Food หรือ อาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารสาเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง อาหารที่มีรสจดั และไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกาย เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ มีโปรตีนและวิตามินสูง รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เน้นอาหารที่ย่อยง่ายหรือแบ่งรับประทานอาหารเป็นมื้อย่อย 4-6 มื้อ/วัน” คุณปรางทิพย์ เกื้อเส้ง กล่าวเพิ่มเติม

Share :