Loading...
Uncategorized

“โลมาอิรวดี” ทะเลสาบสงขลา 1 ใน 5 แหล่งโลมาน้ำจืดของโลกวิกฤตจากการสำรวจเหลือโลมาไม่เกิน 20 ตัว

โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาที่มีหัวกลม ลำตัวสีเทาหรือน้ำเงินเข้ม ความยาวประมาณ 178-274 เซนติเมตร ช่วงท้องมีสีเทาอ่อนกว่ามีครีบหลังเล็กๆ เป็นรูปร่างสามเหลี่ยมปลายมน และครีบข้างที่กว้างและยาว น้ำหนักตัวจะอยู่ประมาณ 98-159 กิโลกรัม ตามข้อมูลบอกว่าเจอโลมาน้ำจืดชนิดนี้ครั้งแรกในแม่น้ำอิรวดี ประเทศเมียนม่า เลยเรียกว่า “โลมาอิรวดี”

โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาที่มีหัวกลม ลำตัวสีเทาหรือน้ำเงินเข้ม ความยาวประมาณ 178-274 เซนติเมตร ช่วงท้องมีสีเทาอ่อนกว่ามีครีบหลังเล็กๆ เป็นรูปร่างสามเหลี่ยมปลายมน และครีบข้างที่กว้างและยาว น้ำหนักตัวจะอยู่ประมาณ 98-159 กิโลกรัม ตามข้อมูลบอกว่าเจอโลมาน้ำจืดชนิดนี้ครั้งแรกในแม่น้ำอิรวดี ประเทศเมียนม่า เลยเรียกว่า “โลมาอิรวดี”

ผอ.ราตรี สุขสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ให้สัมภาษณ์ว่า เดิมโลมาอิรวดีอยู่ในทะเล แพร่กระจายอยู่ฝั่งอ่าวไทย แต่มีฝูงนึงได้เข้ามาอยู่ในทะเลสาบสงขลาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปี กลายเป็นโลมาอิรวดีในน้ำจืด อาศัยบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนบน ซึ่งช่วงฤดูฝนน้ำค่อนข้างจืดสนิทและช่วงน้ำทะเลหนุนมีความเค็มไม่มาก นับเป็นแหล่งโลมาน้ำจืด 1 ใน 5 แห่ง ของทั่วโลก คืออินเดีย อินโดนีเซีย เมียนม่า กัมพูชาและไทยซึ่งจำนวนโลมาอิรวดีในไทยเหลือน้อยมาก จากการสำรวจล่าสุดเมื่อมีนาคม ด้วยเครื่องบินเล็กและสัมภาษณ์ชาวประมง ชาวบ้านในพื้นที่ สรุปวิเคราะห์ประเมินได้ว่าโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาเหลือ ประมาณ 14 ตัวไม่เกิน 20 ตัว ถือว่าสถานการณ์วิกฤติเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ปัจจัยหลักๆที่ทำให้โลมาอิรวดีเสี่ยงสูญพันธุ์นั้นผอ.ราตรีกล่าวว่า สาเหตุหลักคือเครื่องมือประมง เพราะถิ่นที่อยู่ของโลมาคือถิ่นเดียวกับปลาบึก ปลาทั้งสองชนิดนี้อาศัย เจริญเติบโตอยู่ด้วยกัน ปลาบึกเป็นปลาเศรษฐกิจของชาวบ้าน เมื่อปลาบึกติดเครื่องมือประมงโลมาอิรวดีก็มีโอกาสติดเครื่องมือจับปลาบึกด้วยเช่นกัน อีกสาเหตุคือพันธุกรรมใกล้ชิด เนื่องจากโลมาอิรวดีเข้ามาอยู่ในทะเลสาบสงขลายาวนาน การผสมพันธุ์กันเองในฝูงโดยไม่เจอฝูงอื่นอาจทำให้เกิดเลือดชิด จนมีผลถึงสุขภาพของโลมาได้ ผอ.ราตรีให้ความรู้ต่อว่า โลมาตั้งท้องนานเหมือนคน แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าการผสมพันธุ์กันเองในธรรมชาติจะถูกรบกวนมากน้อยแค่ไหน และผสมพันธุ์ประสบความสำเร็จหรือไม่ ยังไม่รวมปัจจัยแวดล้อมอย่างอื่นอีก ข้อมูลตั้งแต่ปี 2547-2564 พบว่าโลมาเกยตื้นตายถึง 94 ตัว และการเกยตื้นน้อยลงไม่ได้แปลว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะอาจเป็นเพราะจำนวนโลมาเหลือน้อยก็เป็นไปได้

ทางด้านแนวทางการอนุรักษ์โลมานั้น ผอ.ราตรีเล่าว่า ก็มีการบูรณาการร่วมกันทำงาน เช่น ประกาศเขตห้ามล่า เพื่อคุ้มครองโลมาอิรวดี เนื้อที่ประมาณ 8 หมื่นไร่ โดยแบ่งเป็น 3 โซนแต่ละโซนทำการประมงเครื่องมืออะไรได้บ้าง กำหนดโซนที่ไม่ควรทำประมง เข้มงวดในการลาดตระเวน ผอ.ราตรีย้ำว่าแนวทางสำคัญเพื่อไม่ให้โลมาอิรวดีหายไปจากทะเลสาบสงขลาคือต้องคุยกันทุกฝ่าย เน้นให้ความรู้คนพื้นที่ให้เข้าใจและความสำคัญของโลมาอิรวดี ซึ่ง ณ ขณะนี้มีเครือข่ายประชาชนและหน่วยงานช่วยกันเฝ้าระวัง และแจ้งข้อมูลเมื่อเจอโลมาเกยตื้นเพื่อให้ช่วยโลมาได้ทันทีและลดการเสียชีวิตด้วย

Share :