มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “คุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2565” (PRIDE OF PSU 2022) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย ในรูปแบบ Online และ Onsite เพื่อรำลึกถึงวันสถาปนามหาวิทยาลัย และยกย่องเชิดชูบุคลากร นักวิจัย และนักศึกษาที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี กล่าวเปิดงาน รศ. ดร.วันดี สุทธรังษี ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย [ … ]
Month: March 2022
ผู้ป่วยโควิดเข้าเกณฑ์ UCEP Plus ต้องมีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR เป็นบวก
ผู้ป่วยโควิดเข้าเกณฑ์ UCEP Plus ต้องมีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR เป็นบวก ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 1. ภาวะหัวใจหยุดเต้น มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า ซึมลง (เมื่อเทียบกับระดับความรู้สึกเดิม) หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก 2. มีอาการไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส มากกว่า 24 ชั่วโมง หรือหายใจเร็วมากกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ หรือออกซิเจนในเลือดเมื่อแรกรับน้อยกว่า [ … ]
ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับ ม.ราชภัฏสงขลา ค้นเรื่องราวจีนที่เมืองสงขลา หนุนขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองมรดกโลก
เดินหน้าไปอีกหนึ่งก้าวสำคัญกับการนำสงขลาสู่มรดกโลก ด้วยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี ร่วมมือกันนำนักวิชาการของสองมหาวิทยาลัย ค้นเรื่องราวของชาวจีนที่เดินทางมายังเมืองสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2223 – 2385 เพื่อเป็นข้อมูลในการนำสงขลาสู่เมืองมรดกโลก อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากคุณชนินทร์ สาครินทร์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา และคุณวิภาวี ปัญญาดี บุคลากรฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ตัวแทนจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นำโครงการของมูลนิธิสงขลาสู่เมืองมรดกโลก [ … ]
คลังเลือด รพ.ม.อ. ขาดแคลนเลือดกรุ๊ป A และกรุ๊ป O เป็นอย่างมาก
คลังเลือด รพ.ม.อ. ขาดแคลนเลือด กรุ๊ป A และกรุ๊ป O เป็นอย่างมาก . ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ที่มีหมู่โลหิต A และ O ร่วมใจกันบริจาคเลือดได้ที่ || หน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต รพ.สงขลานครินทร์ . ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. ติดต่อสอบถามได้ที่ 074 281 574 แหล่งข้อมูล : [ … ]
เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง นวัตกรรมจากนักวิจัย ม.อ. สู่เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อในครัวเรือน
เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง นวัตกรรมจากนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนสู่อุปกรณ์ผลิตกรดไฮโปคลอรัสสำหรับฆ่าเชื้อโรคแบบใช้ในครัวเรือน KIKOWA@HOME โดยอาศัยน้ำเปล่าสะอาดและเกลือแกงผ่านระบบเทคโนโลยีทางเคมีไฟฟ้าที่ใช้วัสดุผสมระดับนาโนที่มีลักษณะเฉพาะสามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อได้ตลอดเวลา ปลอดภัยปราศจากสารเคมีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันเครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงได้พัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 4 เป็นเครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อในครัวเรือน KIKOWA@HOME นวัตกรรมที่นำองค์ความรู้ด้านเคมีไฟฟ้ามาใช้เป็นหลักอาศัยน้ำเปล่าสะอาดและเกลือแกงผ่านระบบเทคโนโลยีทางเคมีไฟฟ้าที่ใช้วัสดุผสมระดับนาโนที่มีลักษณะเฉพาะจนเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่บริเวณผิวหน้าได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดกรดไฮโปคลอรัส ที่มีพีเอชอยู่ในช่วง 5 ถึง 6.5 มีลักษณะเป็นกรดอ่อนและมีค่า Oxidation-Reduction potential สูง จากการวิจัยพบว่าไฮโปคลอรัสมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้แอลกอฮอล์สามารถนำไปเช็ดล้างเพื่อฆ่าเชื้อ ล้างมือ กำจัดเชื้อราในทุกสภาพพื้นผิว ใช้สำหรับบ้วนปากสามารถทำให้แผลภายในช่องปากหายเร็วขึ้น [ … ]
“ปาดตะปุ่มผิวเรียบ” ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ด้านระบบนิเวศ เขาคอหงส์ จ.สงขลา
ดร. ยิ่งยศ ลาภวงศ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ปาดตะปุ่มผิวเรียบ หรือปาดตะปุ่มหลังเรียบ พบได้ในประเทศมาเลเซียและพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยในพื้นที่ป่าที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เช่น เขาหลวงนครศรีธรรมราช และป่าฮาลา-บาลา และป่าที่จังหวัดนราธิวาส ปาดตะปุ่มผิวเรียบมีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในโพรงต้นไม้ที่มีน้ำขัง หรือตามซอกกาบใบของพืชต่างๆ ใช้โพรงต้นไม้นี้ในการวางไข่ เลี้ยงดูลูกอ๊อด โดยปาดชนิดนี้เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้ ส่วนด้านของระบบนิเวศมีบทบาทเป็นผู้บริโภคซึ่งจะกินแมลงเป็นอาหารคล้ายกับกบทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างในเรื่องพื้นที่อาศัย โดยปาดมักอาศัยตามต้นไม้เป็นผลให้ระบบนิเวศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สำหรับการค้นพบปาดตะปุ่มผิวเรียบครั้งนี้ เกิดจากการนำนักศึกษารายวิชาชีววิทยาภาคสนาม ไปสำรวจสิ่งมีชีวิตและเก็บข้อมูลทางด้านชีววิทยาในพื้นที่เขาคอหงส์ยามค่ำคืน ซึ่งมีนักศึกษาคนหนึ่งพบกบตัวขนาดเล็กชนิดหนึ่งอยู่บนโพรงต้นไม้ จึงได้แจ้งอาจารย์เข้าไปดูปรากฎว่าเป็นปาดตะปุ่มเรียบ ซึ่งไม่เคยพบเจอสายพันธุ์นี้ในพื้นที่จังหวัดสงขลาจึงได้ถ่ายรูปแล้วทำการเก็บข้อมูล จากนั้นจึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าได้พบเจอปาดสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรกบนเขาคอหงส์ สำหรับพื้นที่ปกปักพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตบริเวณเขาคอหงส์ อ.หาดใหญ่ [ … ]
สงขลานครินทร์ เปิดเวทีระดมสมอง “อนาคต ม.อ.” ร่วมขับเคลื่อนพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสมัชชามหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ “อนาคต ม.อ.” เพื่อส่งเสริมความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้บริหารมหาวิทยาลัย ส่วนงาน บุคลากร เกี่ยวกับทิศทางแนวคิด นโยบาย แผนการดำเนินงาน และแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งส่วนงานและหน่วยงานจะได้รับทราบทิศทางแนวคิด นโยบาย แผนการดำเนินงาน และแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่จะส่งผลต่อการขับเคลื่อน ม.อ. ในอนาคต รวมทั้งรับฟังแนวคิด และทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในอนาคตอย่างยั่งยืนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนเพื่อให้การพัฒนามหาวิทยาลัยบรรลุวิสัยทัศน์ได้ตามเจตนารมณ์ และเพื่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2566 – 2570 ระหว่างวันที่ 9 – 10 มีนาคม [ … ]
ศูนย์สอบ TCAS ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เตรียมห้องสอบพิเศษ 2 ห้อง
ดร.เจษฎา โมกขกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการรับนักศึกษาให้สัมภาษณ์ว่าการสอบTCAS จะเริ่มด้วยสอบ GAT PAT วันที่ 12-15 มีนาคม และสอบวิชาสามัญในวันที่ 19-20 มีนาคม 2565 โดยศูนย์สอบภาคใต้คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอาจเพิ่มศูนย์สอบที่จังหวัดปัตตานีอีกหนึ่งแห่ง ส่วนแผนอำนวยความสะดวกให้นักเรียนที่ติดโควิด-19 เข้าสอบคือการเปิดห้องสอบพิเศษสองห้องคือห้องสอบสำหรับเด็กที่ติดโควิด-19และห้องสอบสำหรับนักเรียนความเสี่ยงสูง แต่นักเรียนกลุ่มนี้ต้องลงทะเบียนในระบบ MY TCAS เพื่อแจ้งข้อมูลว่าติดโควิดหรือมีความเสี่ยงสูง และเข้าสอบในห้องสอบดังกล่าว ซึ่งจะงดรับนักเรียนที่ติดโควิดและเสี่ยงสูงแบบ walk in ดร.เจษฏา เล่าถึงกระบวนการคัดกรองนักเรียนเข้าสอบว่าจะมีการวัดอุณหภูมิหน้าห้องสอบ ส่วนเจ้าหน้าที่คุมสอบในห้องสอบพิเศษจะใส่ชุด PPE [ … ]
ศูนย์แยกกักตัวผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 (โรงแรมหรรษาเจบีหาดใหญ่) เตรียมรับมือสถานการณ์ที่กำลังเข้าสู่จุดสูงสุด
พญ. หทัยทิพย์ ธรรมวิริยะกุล รักษาการแทนหัวหน้า กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการ์ของโควิด-19 ในพื้นที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา อยู่ในขั้นกำลังรับมือกับสถานการณ์ เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการตรวจ ATK มีผลเป็นบวกจำนวนค่อนข้างมากและต่อเนื่อง อีกทั้งมีการประมาณการด้านระบาดวิทยาว่าช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ของเดือนมีนาคมน่าจะอยู่ในจุดสูงสุดและจะค่อยๆลดลงในช่วงปลายเดือนมีนาคม และสอดคล้องกับการประมาณการของกระทรวงสาธารณสุขที่คาดว่าอีกประมาณ 4 เดือนข้างหน้าประเทศไทยเตรียมตัวเข้าสู่ความเป็นโรคประจำถิ่นของโควิด-19 ที่สำคัญคือเรื่องแนะให้ให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนให้ครบ 3 เข็มเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงอีกประการหนึ่ง โดยศูนย์แยกกักตัวผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้เตรียมมี 2 มาตรการสำหรับการรับมือในสถานการณ์ คือ [ … ]
10 มีนาคม “วันสงขลา” ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
“จังหวัดสงขลา” เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่มีวันประจำจังหวัด คือวันที่ 10 มีนาคม โดยนับเริ่มจากวันที่วางเสาหลักเมืองจังหวัดสงขลา ณ ศาลหลักเมืองสงขลา ถนนนางงาม อ.เมืองสงขลา โดยเป็นเสาหลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์ที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองที่ปรากฏจนถึงทุกวันนี้ 10 มีนาคม ของทุกปีจึงเป็นวันที่ชาวสงขลาทุกคนร่วมระลึกถึงการสถาปนาเมืองสงขลา มีการร่วมกันทำกิจกรรมแก่บ้านเมืองและมีส่วนช่วยในการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในชุมชน ที่สำคัญเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐกับประชาชน เกิดความรัก ความสมานฉันท์ และความผูกพันในการอยู่ร่วมกันในสังคม นำสู่ความสันติสุข ตลอดจนการสร้างความภาคภูมิใจให้ชาวสงขลา ได้ระลึกถึงบรรพชนที่ได้สร้างเมืองมา เกิดความสำนึกรัก และหวงแหนในบ้านเกิดของตนเอง ซึ่งจังหวัดสงขลา [ … ]