Loading...
Uncategorized

สสก. 5 สงขลา เผยสถานการณ์ผลไม้ภาคใต้ เตรียมแนวทางบริหารจัดการรับมือ Covid-19

ช่วงเดือนมิถุนายนตุลาคม 2564 เป็นช่วงผลไม้ภาคใต้ออกสู่ตลาด สสก.5 สงขลา จัดประชุมบูรณาการแผนบริหารจัดการผลไม้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทบทวนข้อมูลผลผลิต เตรียมแนวทางบริหารจัดการภายใต้สถานการณ์ Covid-19

นายสุพิท จิตรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่าสสก.5 สงขลา ได้ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานสหกรณ์จังหวัด ... องค์การบริหารส่วนจังหวัด ศอ.บต. และสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคใต้ ร่วมกันทบทวนข้อมูลผลผลิตไม้ผลทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง         

คาดว่าปีนี้ผลผลิตรวม ประมาณ 873,889 ตัน ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 1.5 แสนตันคิดเป็นร้อยละ 21.54 ประกอบด้วย ทุเรียน จำนวน 594,439 ตัน มังคุด 173,116 ตัน เงาะ63,647 ตัน และลองกอง 42,687 ตัน โดยเป็นผลผลิตในฤดูกาล (มิ..-..) จำนวน824,728 ตัน นอกฤดูกาล (..-.. และ ..-..) จำนวน 49,161 ตันร้อยละ 63 เป็นผลผลิตทุเรียน ซึ่งครึ่งหนึ่งอยู่ที่จังหวัดชุมพร การกระจายผลผลิตจะส่งออกต่างประเทศเป็นหลัก โดยผ่านล้ง และร้อยละ 35 จำหน่ายในประเทศ

ขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรได้เฝ้าระวังป้องกันผลผลิตด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาด มีมาตรการเข้มงวด หากเกษตรกรหรือผู้ค้าฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมาย ในส่วนมังคุดจะบริโภคในประเทศร้อยละ 53 ส่งออกร้อยละ 47 มีการแปรรูปเล็กน้อย ทั้งนี้ได้จัดประชุมเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการผลิตและการตลาด เน้นการผลิตคุณภาพตั้งแต่ต้นฤดูกาล กำหนดมาตรฐานคุณภาพมังคุดภาคใต้ไว้6 เกรด และมีเป้าหมายเพิ่มคุณภาพการผลิตให้ได้เกรด 1 และ 2 ร้อยละ 50 และใช้เครือข่ายแปลงใหญ่และศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชนในการรวบรวมผลผลิตเพื่อประมูล     

ส่วนเงาะและลองกองบริโภคในประเทศเป็นหลัก การกระจายผลผลิต สำหรับทุเรียนในฤดู เกษตรกรทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงปลายเดือนตุลาคม ผลผลิตจะออกมากปลายเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคมมังคุดจะออกหลายรุ่น ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมและจะเก็บเกี่ยวได้มากที่สุดช่วงเดือนสิงหาคม ส่วนลองกองเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม  และจะเก็บเกี่ยวมากที่สุดช่วงเดือนกันยายน ส่วนเงาะจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมิถุนายน และจะเก็บเกี่ยวได้มากช่วงกลางเดือนกรกฎาคมต่อเนื่องถึงเดือนกันยายน     

นายสุพิท จิตรภักดี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของของไวรัส Covid-19การบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ในปีนี้ จึงให้ความสำคัญกับการกระจายผลผลิตผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนวิถีการขายรูปแบบใหม่ ไม่ต้องอาศัยพ่อค้าคนกลาง โดยขอให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ทุกจังหวัดส่งเสริมและสนับสนุนอำนวยความสะดวกเกษตรกรในพื้นที่ให้สามารถกระจายผลผลิตด้วยวิธีการค้าออนไลน์ให้มากขึ้นเช่น Thailand postmart ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด Lazada Shopee www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com ของกรมส่งเสริมการเกษตร

รวมทั้งการใช้ช่องทางความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นไปรษณีย์ไทย และ Kerry ซึ่งจะลดค่าขนส่งให้กับเกษตรกร รวมทั้งการกระจายผลผลิตผ่านทางวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์Modern Trade ศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมชน และการจัดงานประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ต่างถิ่น ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น จึงขอเชิญชวนประชาชนทุกท่านร่วมอุดหนุนผลไม้ไทยคุณภาพดีของภาคใต้ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรในช่วงโควิด

Share :