Loading...
Uncategorized

คำถามยอดฮิตของวัยรุ่นยุคใหม่ กินแล้วนอนอ้วนไหม ?

📣 กินแล้วนอน นับว่าพฤติกรรมยอดฮิตที่วัยรุ่นมักจะชอบทำจนเป็นนิสัย คำถามคือ กินแล้วนอนอ้วนไหม แล้วจะมีอันตรายต่อสุขภาพตามมาหรือเปล่า วันนี้ เราจะมาไขข้อสงสัยกับคำถามยอดฮิตกัน ว่าการกินแล้วนอนทันที มีผลอย่างไรต่อสุขภาพและควรแก้พฤติกรรมนี้อย่างไร

💛 กินแล้วนอนอ้วนไหม ?

💬 การกินแล้วนอน ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเราอ้วนขึ้นได้ เนื่องจากการที่เรารับประทานอาหารเข้าไปแล้ว เช่น มื้อดึก แป้ง ของทอด ทั้งหมดนี้ถือเป็นพลังงานที่เข้าไปในร่างกาย อย่างแคลอรีและไขมันอยู่ในร่างกายเกินพอดี ถ้าหากไม่ได้รับการเผาผลาญก็จะเกิดการสะสมทำให้อ้วนได้นั่นเอง นอกจากอ้วนขึ้น ยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย

1. กรดไหลย้อน กินแล้วนอนในขณะที่อาหารกำลังย่อย มีโอกาสที่จะเกิดโรคกรดไหลย้อนสูงมาก โดยปกติแล้ว ร่างกายคนเราเมื่อทานอาหารเสร็จ เมื่อเราอยู่ในท่านั่งหรือลุกขึ้นยืน ร่างกายจะใช้เวลาในการย่อยอาหาร 2 – 3 ชั่วโมง แต่ถ้าหากเรานอนลงไปในทันที กรดในกระเพาะอาหารจะไหลย้อนกลับไปในทางเดินอาหาร กรดเหล่านี้มีความเข้มข้นสูงมาก ทำให้รู้สึกแสบร้อนกลางอก และไม่สบายท้อง เป็นอันตรายต่อเยื่อบุหลอดอาหารที่มีความบอบบาง บอกเลยว่า โรคนี้รักษายากและยังมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาอีกด้วย

2. อาการท้องอืด การนอนหลับเสมือนเป็นการปิดสวิทซ์การทำงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่ได้รับคำสั่งให้ย่อยอาหารได้เต็มที่ อาหารที่เราทานไปจึงมีการหลงเหลือและหมักหมม เกิดเป็นแก๊สในกระเพาะอาหาร ทำให้รู้สึกร้อนและไม่สบายท้องได้

3. การนอนที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ สำหรับคนที่กินเสร็จแล้ว อาจจะเกิดอาการง่วงหงาวหาวนอนได้ แต่ขอบอกเลยว่า นอนก็นอนไม่สบายตัว หรือนอนหลับไม่สนิทแน่นอน เพราะกระบวนการย่อยอาหารยังทำงานไม่เสร็จนั่นเอง

4. โรคหลอดเลือดในสมอง ร่างกายของเราจะมีเส้นเลือดที่คอยทำหน้าที่ไหลเวียนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงกระเพาะอาหาร ลำไส้ และสมอง ถ้าหากเรากินแล้วนอนทันที ปริมาณของออกซิเจนที่ลำเลียงไปยังกระแสเลือดจะลงลง และทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไปยังสมองนั้นไม่ดีนัก

💛 ข้อควรรู้ หลังทานข้าวเสร็จ

  • ควรทิ้งระยะเวลาการนอนหลังทานข้าวประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง เป็นอย่างต่ำ
  • ไม่ควรออกกำลังกายหลังทานข้าวเสร็จ
  • งีบสั้น ๆ เป็นเวลา 15 – 20 นาทีแทน เพื่อลดการสูญเสียพลังงานโดยไม่จำเป็น และลดน้ำหนักไปในตัว
  • หลังทานอาหาร ประมาณ 20 – 30 นาทีแล้วนอนเอนหลัง จะช่วยให้ตับและระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การนอนตะแคงขวา ช่วยให้อาหารลำเลียงสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น และไม่เกิดการอุดตันของเศษอาหารอีกด้วย
  • ในขณะที่เรานอนหลับ อวัยวะอย่างตับ จะทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะจะช่วยป้องกันการสะสมของไขมัน
  • ถ้าหากกินมื้อดึกควรหลีกเลี่ยงการทานของทอด อาหารขยะ หรือแป้ง และเน้นเป็นผลไม้ น้ำผัก หรือโยเกิร์ตแทน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือขยับร่างกายเพื่อใช้พลังงาน เผาผลาญไขมันออกมา
  • นอนให้เป็นเวลา

สรุป 💬 การกินแล้วนอน อ้วนไหม ความจริงแล้ว อยู่ที่เวลาในการย่อยว่านานแค่ไหน และปริมาณอาหารรวมไปถึงประเภทของอาหารว่าดีต่อสุขภาพหรือไม่ ดังนั้นหลังทานอาหารเราอาจจะทำกิจกรรมเพื่อให้ร่างกายขยับตัว ได้มีการย่อยก่อนนอนหลับก็จะปลอดภัยต่อร่างกายของเรานั่นเอง

Share :