จากเหตุการณ์ที่มีซาเล้งเก็บขยะติดเชื้อโควิด 19 จากการเก็บขยะขาย และแพร่เชื้อไปสู่คนในครอบครัว ทำให้เห็นว่า ‘อาชีพคนเก็บขยะ’ มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อสูง เนื่องจากขยะติดเชื้อจากบ้านเรือนไม่ได้มีการแยก หรือกำจัดอย่างถูกวิธี
.
ซึ่งขยะติดเชื้อที่มาจากบ้านเรือน ได้แก่ ขยะหน้ากากอนามัย ชุดตรวจโควิดที่ใช้แล้ว (Antigen test kit) ชุด PPE ถุงมือ กระดาษชำระ รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร
.
ขยะติดเชื้อ คืออะไร?
สิ่งที่สัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น น้ำมูก น้ำลาย เลือด เสมหะ ขยะติดเชื้อไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้และต้องกำจัดโดยการเผาผ่านเตาเผาขยะติดเชื้อเท่านั้น
.
การทิ้งลงถังขยะอย่างเดียวจึงไม่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้สัมผัสอื่น ๆ หากต้นทางขยะไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ก็จะกลายเป็นพาหะที่กระจายเชื้อโรคต่อไปได้อีก
.
ทุกคนจึงควรรู้วิธีจัดการขยะติดเชื้อที่ถูกต้องเบื้องต้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อน รั่วไหล และแพร่เชื้อโดยไม่ตั้งใจ
.
[ คนสร้างขยะ ] #SAVEคนสร้างขยะ
บุคคลทั่วไป หรือ ผู้ที่ตกเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรจัดการขยะที่เสี่ยงเป็น ‘ขยะติดเชื้อ’ ดังนี้
.
รวบรวมขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจโควิด (ATK) กระดาษชำระ ใส่ถุงขยะ
ควรฉีดพ่นฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฟอกขาวหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ ใส่ถุงขยะอีกชั้น ปิดปากถุงให้สนิท
ระบุข้อความ ‘ขยะติดเชื้อ’ ให้ชัดเจน แยกจุดทิ้งขยะติดเชื้อออกจากขยะทั่วไป
.
สำหรับสถานประกอบการ
ควรมีอุปกรณ์เฉพาะสำหรับสัมผัสขยะติดเชื้อ เช่น คีม ถุงมือ ไม่หยิบย้ายขยะด้วยมือเปล่า
ตรวจสอบถุงขยะอย่างละเอียด อย่า ให้มีการรั่วไหล
มีเส้นทางนำส่งขยะติดเชื้อโดยเฉพาะ และป้ายแสดงพื้นที่ทิ้งบ่งบอกชัดเจน
.
[ คนเก็บขยะ ] #SAVEคนเก็บขยะ
คนเก็บขยะ เป็นอาชีพที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อโรค โดยเฉพาะหากแหล่งทิ้ง ไม่เป็นขยะที่ถูกแยกอย่างถูกต้องหรือมีการรั่วไหล ปนเปื้อน มีวิธีการป้องกันเบื้องต้น ดังนี้
.
เลี่ยงการสัมผัสขยะติดเชื้อโดยตรง สวมอุปกรณ์ป้องกัน
ไม่สูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารขณะทำงาน
หลังจากทำงานควรทำความสะอาดร่างกายและเสื้อผ้าโดยทันที
.
คนเก็บขยะถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่ควรได้รับวัคซีนป้องกัน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19