Loading...
Uncategorized

วันผู้บริจาคโลหิตโลก (World Blood Donor Day)

World Blood Donor Day หรือวันผู้บริจาคโลหิตโลก ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล ลันด์สไตเนอร์ แพทย์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1868-1943 ท่านเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการจำแนกหมู่โลหิต A B และ O ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญยิ่งต่องานบริการโลหิตทั่วโลก จนได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยา หรือแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1930 อีกทั้งยังพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย การค้นพบเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการต่อยอดในวงการแพทย์มาจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีกเป็นจำนวนมาก

เส้นทางเลือดหลังบริจาค

จุดเริ่มต้นการเดินทางของเลือด 1 ถุง เริ่มจากผู้ต้องการบริจาค แจ้งความจำนงที่จุดรับบริจาค หลังจากนั้นผ่านการตรวจกรุ๊ปเลือด ดูสี และความหนักของเลือดว่ามีสมบูรณ์หรือไม่ เลือดที่สมบูรณ์พร้อมบริจาค ต้องสีแดงชาดและจมน้ำ ถ้าเลือดเป็นสีชมพูอาจมีภาวะเลือดจาง ถ้าเลือดลอยน้ำ คือ เม็ดเลือดแดงต่ำ ไม่สามารถบริจาคได้

จากนั้นจึงเจาะเลือดเพื่อบริจาค เมื่อเจาะเสร็จแล้วจะได้เลือด 1 ยูนิต พร้อมกับอีก 4 หลอด ซึ่งเลือดจากทั้ง 4 หลอดจะถูกนำไปห้องแล็บเพื่อตรวจด้วยน้ำยา หา 4 โรคร้าย ได้แก่ โรคเอดส์ ซิฟิลิซ ไวรัสตับอักเสบ B และ C ถ้าตรวจพบ ต้องยกเลิกเลือดถุงนั้น พร้อมแจ้งให้ผู้บริจาคทราบ

ส่วนเลือด 1 ยูนิต จะถูกนำมาเข้าห้องแล็บเช่นกัน เพื่อเข้าสู่กระบวนการปั่นเลือด แยกเม็ดเลือดแดง (โลหิต) ที่จะอยู่ก้นถุง เกล็ดเลือดอยู่กลางถุง และพลาสมาอยู่ชั้นบนสุดของถุง

หลังจากแยกได้เลือด เกล็ดเลือด และพลาสมาแล้ว ส่วนประกอบของเลือดทั้ง 3 จะได้รับการเก็บรักษาด้วยวิธีการต่างกันไป โดยเลือด เก็บในห้องเก็บเลือดอุณหภูมิ 1-6 องศาเซลเซียส เกล็ดเลือด เก็บที่อุณหภูมิ 20-24 องศาเซลเซียส เขย่าตลอดเวลา เพื่อรอเวลาคนมารับบริจาค รวมกระบวนการเดินทางของเลือดจนกว่าจะมีคนมารับไปใช้ได้ คือ ใช้เวลา 1-3 วัน

Share :