กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยวัคซีนไฟเซอร์กว่า 1.5 ล้านโดสถึงไทยแล้ว ยืนยันมีวัคซีนเพียงพอพร้อมรับการเปิดเรียน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 1,538,550 โดส เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้วตามกำหนด เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยภาพรวมวัคซีนไฟเซอร์ตามแผนกระจายวัคซีนของประเทศ ขณะนี้ได้ส่งมอบแล้ว 8,000,000 โดส คือ เดือนกันยายน 2,000,000 โดส [ … ]
ภาคใต้ช่วงนี้ยังมีฝนบางแห่ง เตือนประชาชนระวังโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วมหรือน้ำป่าไหลหลาก
กรมควบคุมโรค ขอเผยแพร่ “พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์” ฉบับที่ 37/2564 ประจำสัปดาห์ที่ 43 (วันที่ 24 – 30 ต.ค. 64) จากข้อมูลการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคและข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าในช่วงนี้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ขอให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับประชาชนที่อยู่บริเวณประเทศไทยตอนบน ขอให้ดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย “การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพของสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้มีโอกาสเกิดโรคและภัยสุขภาพที่มากับน้ำท่วมหรือน้ำป่าไหลหลาก ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคอาหารเป็นพิษ โรคฉี่หนู โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก แมลงหรือสัตว์มีพิษกัดต่อย [ … ]
ไข่ผำ จากวัตถุดิบอาหารพื้นบ้านสู่ Superfood ของโลกกับฉายา กรีนคาเวียร์
ไข่ผำ เป็นพืชน้ำ ลักษณะเป็นสีเขียวขนาดเล็กคล้ายไข่ปลา กระจายคลุมเหนือผิวน้ำเป็นแพ มีขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง เช่น บึง และหนองน้ำธรรมชาติทั่วไป โดยปกติจะมีมากในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่มีน้ำไหลเวียน ก่อนนำไปปรุงทำอาหารต้องล้างให้สะอาดเสมอ ไข่ผำ มักถูกนำไปประกอบอาหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น แกง หรือผัด บางที่ก็ใส่เป็นส่วนประกอบของอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้มีความหอม มัน อร่อย มากยิ่งขึ้น นอกจากจะเป็นวัตถุดิบหลักของอาหาร แล้วเป็นตัวช่วยในการเพิ่มรสชาติ ไข่ผำ ยังมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารอย่างมากเลยทีเดียว ไข่ผำมีโปรตีนสูงมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง และโปรตีนของมันยังคล้ายกับของถั่วเหลืองอีกต่างหาก และในบางพื้นที่ สภาพแวดล้อม ทำให้ไข่ผำมีโปรตีนสูงมากกว่าไข่และเนื้อได้ด้วยเช่นกัน [ … ]
Blue Economy การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับการดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน
ในวันที่เราเริ่มตระหนักถึงภัยที่มนุษย์สร้างขึ้น สู่มหันตภัยร้ายอันนำมาซึ่งความตายของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล และจะมีสักกี่คนที่ตระหนักว่า ท้ายที่สุดแล้วนั้นผลของการเปลี่ยนแปลงจะย้อนกลับมาส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์เอง เศรษฐกิจสีน้ำเงิน จึงเป็นแนวทางการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน หรือหากกล่าวให้เข้าใจง่ายที่สุด เศรษฐกิจสีน้ำเงิน หมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ส่งผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามชายฝั่งและในทะเลนั่นเอง แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงินนั้นมีที่มาที่ไปโดยเริ่มต้นจากการประชุม Rio+20 เมื่อปี ค.ศ. 2012 อันเป็นการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบของ UN Commission on Sustainable Development (UNCSD) ซึ่งได้มีการบัญญัติคำขึ้นมาใหม่ คือ เศรษฐกิจสีเขียว อันเป็นเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นให้เกิดความกินดีอยู่ดีของมนุษย์และความเท่าเทียมทางสังคม โดยลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรของระบบนิเวศน์ โดยเกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรแรงงาน [ … ]
กระทรวงการคลังเผยความคืบหน้าโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากข้อมูล ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2564 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 25.44 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายสะสมรวม 110,123.4 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 55,975.3 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 54,148.1 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีประชาชนผู้ใช้สิทธิจำนวน 84,680 คน [ … ]
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ขาดแคลนเลือดขั้นวิกฤต เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid-19
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ขาดแคลนเลือดขั้นวิกฤต เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid-19 วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09:00-15:00 น. ณ ตลาดเกษตร ม.อ. ตลาดเกษตร ม.อ. ร่วมกับ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต ผู้ที่รอคิวฉีดหรือฉีดวัคซีนโควิดแล้ว สามารถบริจาคเลือดได้ ก่อนหรือหลังฉีดวัคซีน 7 วัน หากไม่มีอาการข้างเคียง *กรณีมีอาการข้างเคียงขอให้หายดีก่อน เว้น 7-14 วันตามความรุนแรงของอาการ แหล่งข้อมูล [ … ]
สงขลานครินทร์ จับมือ มหิดล ร่วมสร้างเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย โครงการเครือข่ายและพันธมิตรการวิจัยสหวิทยาการมหาวิทยาลัยมหิดล-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัย แลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัยและบุคลากรวิจัย ยกระดับผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในรูปแบบสหวิทยาการ อีกทั้งสนับสนุนการใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญของทั้งสองหน่วยงานให้เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม โดยมี ผศ. ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศ. นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามออนไลน์ ผ่านระบบ Cisco Webex Meeting เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 64 สำหรับการลงนามในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [ … ]
TCAS รอบ 1 เริ่มแล้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งเป้ารับ 30%
TCAS รอบ 1 เริ่มแล้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งเป้ารับนักเรียนรอบ Portfolio 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนรับทั้งหมด.อาจารย์เจษฏา โมกขกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้สัมภาษณ์ว่า ระบบ TCAS(Thai University Central Admission System) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับ 4 รอบ โดยรอบหนึ่งหรือรอบportfolio รับ 2 ครั้ง คือ 1/1 และ 1/2 [ … ]
สรุปมาตรการเดินทางเข้าไทย 1 พ.ย. 64
สรุปมาตรการเดินทางเข้าไทย 1 พ.ย. 641. ลงทะเบียน https://tp.consular.go.th/ รับ Thailand Pass QR Code แสดงต่อสายการบิน และเจ้าหน้าที่ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง2. ผู้ที่มีหนังสือรับรองการเข้าประเทศ (COE) แล้ว นำไปรับเงินคืน (refund) จากโรงแรมของท่าน3. เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน แต่ผู้ปกครองรับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ไม่ต้องกักตัว (รอผลตรวจในโรงแรมที่กำหนดพร้อมผู้ปกครองไม่น้อยกว่า 1 คืน)4. [ … ]
วัคซีนไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพดี ป้องความรุนแรงอัตราการนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตได้สูง
แพทยท์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน สาขาวิขากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. ยืนยันการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กลุ่มนักเรียนอายุ 12-17 ปี ที่ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีประสิทธิภาพดีสามารถป้องความรุนแรงอัตราการนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิตได้สูง พร้อมให้ข้อมูลการเฝ้าระวังอาการและความปลอดภัยในข้อกังวลเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหลังฉีดวัคซีน พญ.พุทธิชาติ ขันตี แพทยท์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ สาขาวิขากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของสายพันธ์เดลต้ามากที่สุด และวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ดี คือวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งในประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ให้การรับรองให้ใช้ในเด็กอายุ 12-17 ปี ขณะนี้มีไฟเซอร์ยี่ห้อเท่านั้น ส่วนด้านประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ประมาณ [ … ]