คืนวันที่ 12 สิงหาคม 2564 เวลาประมาณ 23:00 น. จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 13 สิงหาคม 2564 จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ (Perseids Meteor Shower) หรือที่มักเรียกกันว่า “ฝนดาวตกวันแม่” มีศูนย์กลางการกระจายอยู่ในกลุ่มดาวเพอร์เซอุส บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการตกเฉลี่ยสูงสุด 110 ดวงต่อชั่วโมง ในช่วงเช้ามืดวันที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา ประมาณ 02:00 น. ช่วงเวลาดังกล่าวปราศจากแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตฝนดาวตกครั้งนี้เป็นอย่างมาก แนะนำสถานที่ชมให้อยู่ในที่ห่างจากเมืองหรือบริเวณที่มืดสนิท ปราศจากแสงรบกวน สำหรับวิธีการสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ นอนชมด้วยตาเปล่า ตามทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก หากฟ้าใสไร้ฝนสามารถชมความสวยงามของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ได้ทั่วประเทศ
ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม – 24 สิงหาคมของทุกปี มีสีสันสวยงาม เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟท์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) เหลือทิ้งไว้ในวงโคจร เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าว จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า
สำหรับปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการตกเฉลี่ยสูงสุด 110 ดวงต่อชั่วโมง ในช่วงเช้ามืดวันที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา ประมาณ 02:00 น. ช่วงเวลาดังกล่าวปราศจากแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตฝนดาวตกครั้งนี้เป็นอย่างมาก แนะนำสถานที่ชมให้อยู่ในที่ห่างจากเมืองหรือบริเวณที่มืดสนิท ปราศจากแสงรบกวน สำหรับวิธีการสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ นอนชมด้วยตาเปล่า ตามทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก หากฟ้าใสไร้ฝนสามารถชมความสวยงามของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ได้ทั่วประเทศ
ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม – 24 สิงหาคมของทุกปี มีสีสันสวยงาม เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟท์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) เหลือทิ้งไว้ในวงโคจร เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าว จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า