มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอ 4 แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศ รองรับการประเมินตนเองเพื่อสังกัดกลุ่มสถาบันพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โชว์สาขาเชี่ยวชาญและเข้มแข็ง ความเป็นเลิศทางวิชาการระดับโลก การพัฒนาระบบบริหารนิเวศน์วิจัยประสิทธิภาพสูง และการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กำหนดให้มีการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเป็น 6 กลุ่มคือ กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา กลุ่มผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ และกลุ่มอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยให้มหาวิทยาลัยพิจารณาการเลือกสังกัดกลุ่ม และส่งผลการประเมินตนเองในส่วนของ ผลงาน ศักยภาพ ทิศทาง ภารกิจ การพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และแผนการพัฒนาความเป็นเลิศไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณากลั่นกรองและให้ความเห็น
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เลือกสังกัดกลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global & Frontier Research) เพราะเป็นสถาบันที่พร้อมในการแข่งขันกันในระดับนานาชาติ และช่วยเพิ่มศักยภาพของประเทศในเรื่องของ เทคโนโลยี ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ภาษาและการสื่อสาร ความยั่งยืน การพัฒนากำลังคน นวัตกรรมอาหาร การแพทย์และสาธารณสุข การจัดการ และการศึกษา โดยเน้นการรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมในภาคใต้ที่มีปัญหาเฉพาะที่มหาวิทยาลัยต้องเข้าไปร่วมแก้ไขโดยการบูรณาการ 3 ศาสตร์หลัก คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการทำงานร่วมกับเครือข่ายซึ่งจะเป็นโจทย์ใหญ่ของมหาวิทยาลัยในวันข้างหน้า
รองศาสตราจารย์ นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่าสำหรับแผนพัฒนาความเป็นเลิศสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 4 ด้าน คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1การกำหนดสาขาเชี่ยวชาญและเข้มแข็ง สร้างระบบการบริหารจัดการคนเก่ง การสนับสนุนทุนวิจัยขั้นแนวหน้า สนับสนุนงบประมาณให้นักวิจัยมีผลงานสูงในการทำวิจัย การสนับสนุนทุนบัณฑิตศึกษาให้มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก
ยุทธศาสตร์ที่ 1การกำหนดสาขาเชี่ยวชาญและเข้มแข็ง สร้างระบบการบริหารจัดการคนเก่ง การสนับสนุนทุนวิจัยขั้นแนวหน้า สนับสนุนงบประมาณให้นักวิจัยมีผลงานสูงในการทำวิจัย การสนับสนุนทุนบัณฑิตศึกษาให้มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการระดับโลกในสาขาที่มีความพร้อมสูง การมีองค์ความรู้ชั้นสูงจากการวิจัยที่สามารถต่อยอดไปสู่นวัตกรรมในอนาคต การสร้างทีมข้ามศาสตร์ การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชน การสร้างศูนย์พันธมิตรวิจัยนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบบริหารนิเวศน์วิจัยประสิทธิภาพสูง เพื่อเสริมศักยภาพในวงวิชาการระดับสากล โดยสร้างองค์ความรู้ชั้นสูงจากการวิจัยที่สามารถต่อยอดไปสู่นวัตกรรมในอนาคต การยกระดับมหาวิทยาลัย สร้างนักวิจัย ผู้ประกอบการใหม่ที่เน้นนวัตกรรมในระดับโลก การยกระดับหลักสูตร ห้องปฏิบัติการ พัฒนาและบริหารจัดการงานวิจัย สู่การรับรองระดับนานาชาติ การสร้างศูนย์เครือข่ายความร่วมมือ การสร้างทีมงานข้ามศาสตร์ เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมแห่งอนาคต
และ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของบัณฑิตศึกษาและวิทยานิพนธ์ ในสาขาที่มีศักยภาพ คือ เกษตร อาหารและสุขภาพ พัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองอุตสาหกรรมเพื่อวิจัยและสร้างนวัตกรรม ประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์คุณภาพอาเซียน ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ ออกแบบการเรียนการสอนเป็นชุดวิชา เน้นการสอนที่เป็น Active learning และการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงและสหกิจศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต